Your Cart

พจนานุกรมฯ-เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ,อังกฤษ-ไทย International Economics Dictionary, English-Thai

On Sale
$5.00
$5.00
Added to cart
พจนานุกรมฯ-เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ,International Economics Dictionary, 

หนังสือในชุด พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำหรับเล่มนี้ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายกระบวนการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมวดศัพท์เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ,International Economics ในการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผู้เขียนได้ใช้แนวทางปฏิบัติตาม พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อให้สอดคล้องและเกิดความเข้าใจอันดีในแนวทางเดียวกันของครูอาจารย์และนักศึกษาตลอดจนประชาชนทั่วไปที่นำพจนานุกรมเล่มนี้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเรื่องอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกันต่อไป



==================

ตัวอย่าง พจนานุกรมหมวดศัพท์เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ,International Economics

===================

Development: Capital

การพัฒนา : ทุน

ปัจจัยการผลิต(อีก 2 ปัจจัย คือ ที่ดินและแรงงาน) ซึ่งแสดงออกมาในรูปของเงินและสินค้าผู้ผลิต การใช้ทุนเพื่อการขยายศักยภาพทางการผลิตจะกระทำได้ต้องอาศัย (1) กำไร (2)จำนวนของกำไรที่มีการออมไว้และ (3) การนำเงินที่ออมไว้เข้าสู่การลงทุนในรูปของสินค้าทุน ในรัฐทุนนิยมที่เจริญแล้วนั้นจะมีการส่งเสริมให้มีการรวมทุนด้วยวิธี(1) สร้างตลาดที่มีความมั่นคง (2) ให้มีระบบการธนาคารทำงานอย่างเต็มที่ และ(3) ให้ภาครัฐบาลทำการควบคุมนโยบายการคลังและการเงิน ส่วนในรัฐที่ปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์นั้น รัฐจะเข้าวางแผนชี้นำให้มีการนำรายได้ของชาติจำนวนมากๆมาใช้พัฒนาสินค้าทุน แหล่งเงินทุนของรัฐด้อยพัฒนาทั้งหลาย ได้แก่ (1)เงินออมภายในประเทศ (2)เงินลงทุนของภาคเอกชนจากต่างประเทศ (3) เงินจากการค้า และ (4) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทุนจะช่วยจัดหาปัจจัยที่มีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ อาคาร เครื่องจักรกล อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการขนส่ง ฯลฯ

ความสำคัญ การสะสมทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในหมู่รัฐที่เจริญแล้ว และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้อยพัฒนา อย่างไรก็ดี การลงทุนในรูปของเงินทุนแท้ๆจะบังเกิดขึ้นมาได้นั้นต้องมีการพิจารณากันทั้งในด้านการตลาดและอุปสงค์ของสินค้า ในทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น ได้กำหนดให้ภาครัฐบาลทำการส่งเสริมให้มีการถ่ายโอนเงินออมเข้าสู่การลงทุนเมื่อชาติประสบปัญหาการขาดแคลนเงินทุน หรือเมื่อเกิดภัยคุกคามจากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ในหมู่ประเทศด้อยพัฒนานั้น การสะสมทุนโดยผ่านทางการค้าต่างประเทศ(อันเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ)จะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากอัตราการค้ามีราคาลดลงมากๆ จากลัทธิปกป้อง(แนวความคิดในการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศด้วยวิธีการปกป้อง หรือการกีดกันสินค้าเข้าด้วยการใช้มาตรการต่างๆ) ในประเทศที่เจริญแล้ว และจากการพัฒนาสิ่งสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้แทนสินค้าขั้นปฐม การลงทุนของภาคเอกชนต่างประเทศในรัฐด้อยพัฒนานั้น มิได้เป็นไปดังความคาดหมาย เพราะว่าผู้ลงทุนจากรัฐที่เจริญแล้วนั้นเกรงกลัวว่าจะมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศด้อยพัฒนา และมีแรงจูงใจอยากจะไปลงทุนในประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าเพราะโอกาสที่การลงทุนมีความปลอดภัยจะมีมากกว่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว โครงการให้ความช่วยเหลือในรูปให้เปล่าก็จะมุ่งให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและในด้านการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน ที่เป็นเงินทุนแท้ๆมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนสถาบันระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ กลุ่มธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาแอฟริกา ธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารพัฒนาระหว่างรัฐอเมริกา ก็ได้ให้เงินทุนโดยปล่อยเงินกู้ประเภทที่มีเงื่อนไขเข้มงวดเสียส่วนใหญ่
You will get a PDF (614KB) file