Your Cart

เรียนบาลีแบบเร่งรัด Learn Pali by Innovative Method

On Sale
$15.00
$15.00
Added to cart
เป็นบทเรียนบาลีไวยากรณ์ที่ใช้วิธีการแบบใหม่ ทำให้สามารถเรียนรู้ภาษาบาลีได้อย่างรวดเร็วกว่าวิธีเดิม
You can learn Pali by using this innovative method. You can learn Pali more quickly.



สำหรับบทเรียน #เรียนบาลีแบบเร่งรัด ที่นำมาเสนอนี้ เป็นวิธีการเรียนบาลีไวยากรณ์แบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากแต่เดิม ที่นักเรียนบาลีตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมสนามหลวง (แผนกบาลี) ต้องใช้เวลาเรียนและทำการท่องจำแบบเรียนบาลีไวยากรณ์และตามหลักสูตรต้องศึกษาตำราเรียนไวยากรณ์ประเภทสอบถามความจำและความเข้าใจ อันประกอบด้วย 1) นาม-อัพพยศัพท์ 2) อาขยาต 3) กิตก์ 4) สมาส 5) ตัทธิต 6) สมัญญาภิธาน และ 7) สนธิ

การเรียนจากตำราบาลีไวยากรณ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาเรียนนานอย่างน้อยหนึ่งถึงสองปีกว่าจะได้เริ่มเรียนการแปลธรรมบทเพื่อสอบเปรียญ 1-2 และเปรียญ 3 อันส่งผลทำให้พระภิกษุและสามเณรหลายรูปเกิดความท้อถอยละความเพียรที่จะเล่าเรียนศึกษาภาษาบาลี

ปัจจุบันผมได้ติดตามการเรียนสอนภาษาบาลีที่ประเทศศรีลังกา พบว่า ครูอาจารย์ที่นั่นท่านใช้วิธีการสอนบาลีไวยากรณ์แบบเร่งรัดโดยการบูรณาการบาลีไวยากรณ์ในเรื่องต่าง ๆ มาใช้งานเพื่อความเข้าใจและการแปลภาษาบาลี ผมก็เลยลองนำมาศึกษาวิธีการเรียนแบบของประเทศศรีลังกามาใช้บ้าง

ดังนั้นบทเรียน #เรียนบาลีแบบเร่งรัด จึงเป็นวิธีการเรียนที่ไม่เยิ่นเย้ออย่างแบบเก่า แต่เป็นวิธีการที่นักศึกษาแม้แต่เริ่มเรียนแค่ชั่วโมงแรก ก็สามารถหัดอ่านและแปลภาษาบาลีได้แล้ว ดังที่ได้นำเสนอบทเรียนทางเฟซบุ๊กไปแล้ว 32 บท พร้อมกับมีแบบฝึกหัดทั้งแปลไทยเป็นมคธและแปลมคธเป็นไทย ให้นักศึกษาได้ทดลองทำ และสามารถนำไปเทียบเคียงกับคำเฉลยที่ผมได้จัดทำไว้ในทุกบทเรียนแล้วเช่นกัน

ตัวอย่าง

บทที่ 1 ปฐมาวิภัตติ

คำศัพท์

1.นามศัพท์ ปุงลิงค์ อ การันต์

พุทฺธ / ตถาคต / สุคต
- พระพุทธเจ้า
มนุสฺส
- มนุษย์, คน
นร/ ปุริส
- คน, บุคคล, บุรุษ
กสฺสก
- ชาวนา, เกษตรกร
พฺราหฺมณ
- พราหมณ์
ปุตฺต     
- บุตร, ลูกชาย
มาตุล
- ลุง
กุมาร
- เด็กชาย
วาณิช
- พ่อค้า
ภูปาล
- กษัตริย์
สหาย / สหายก / มิตฺต
- เพื่อน, มิตร
กิริยาศัพท์ ปัจจุบันกาล (แปลว่า อยู่, ย่อม, จะ หลังกิริยา)

ภาสติ
พูดอยู่   
ปจติ
หุงอยู่
กสติ
ไถอยู่
ภุญฺชติ  
กินอยู่
สยติ
นอนอยู่
ปสฺสติ
เห็นอยู่
ฉินฺทติ
ตัดอยู่
คจฺฉติ
ไปอยู่
อาคจฺฉติ
มาอยู่
ธาวติ
วิ่งอยู่
 
2. แจกนามศัพท์ ปุงลิงค์ อ การันต์

วิธีแจก

ปฐมาวิภัตติ ลงท้ายด้วยสระ โอ นำมาต่อท้ายหลังศัพท์นามนาม ปุงลิงค์ เอกวจนะ

ปฐมาวิภัตติ ลงท้ายด้วยสระ อา นำมาต่อท้ายหลังศัพท์นามนาม ปุงลิงค์ พพุวจนะ

ศัพท์นามนาม ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ หรือ พหุวจนะ ใช้เป็นประธาน เมื่อเป็นประธานของกริยาเอกวจนะ ให้แปลว่า อันว่า อันว่า เมื่อใช้เป็นประธานในกิริยาพหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย

เอกวจนะ

1. นร + โอ =นโร แปลว่า อันว่าคน

2.มาตุล + โอ = มาตุโล แปลว่า อันว่า ลุง

3. กสฺสก + โอ = กสฺสโก แปลว่า อันว่า ชาวนา

พหุวจนะ

1. นร+อา = นรา แปลว่า อันว่าคนทั้งหลาย

1. มาตุล + อา = มาตุลา แปลว่า อันว่าลุงทั้งหลาย

3. กสฺสก + อา =กสฺสโก แปลว่า อันว่าชาวนาทั้งหลาย

3.ปัจจุบันกาล(แปลว่า อยู่, ย่อม, จะ), บุรุษที่สาม, เอกพจน์ (แปลว่า อันว่า...) และ พหูพจน์ (แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย)

กริยาที่นำมาเสนอข้างต้น คือ ภาส, ปจ, กส เป็นต้น เป็นรากศัพท์ และมี -ติ เป็นปัจจุบันนกาล บุรุษที่สาม เป็น เอกพจน์ และพหูพจน์

เอกพจน์

ภาสติ -อันว่าเขา พูดอยู่

ปจติ - อันว่าเขา หุงอยู่

ภาสติ -อันว่าเขา ไถอยู่

พหูพจน์

ภาสนฺติ -อันว่าเขาทั้งหลาย พูดอยู่.

ปจนฺติ -อันว่าเขาทั้งหลาย หุงอยู่

กสนฺติ -อันว่าเขาทั้งหลาย ไถอยู่

4. ตัวอย่างการประกอบรูปเป็นประโยค

เอกพจน์

1. นโร ภาสติ -อันว่าคน พูดอยู่

2. มาตุโล ปจติ -อันว่าลุง หุงอยู่

3. กสฺสโก กสติ -อันว่าชาวนา ไถอยู่

พหุวจนะ

1. นรา ภาสนฺติ-อันว่ามนุษย์ทั้งหลาย พูดอยู่

2. มาตุลา ปจนฺติ -อันว่าลุงทั้งหลาย ปรุงอยู่

3. กสฺสกา กสนฺติ -อันว่าชาวนาทั้งหลาย ไถอยู่

แบบฝึกหัดที่ 1

ก. จงแปลบาลีเป็นไทย

1. ภูปาโล ภุญฺชติ .

2. ปุตฺตา สยนฺติ.

3. วาณิชา สยนฺติ.                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

4. พุทฺโธ ปสฺสติ.

5. กุมาโร ธาวติ.

6. มาตุโล กสติ.

7. พฺราหฺมณา ภาสนฺติ.

8. มิตฺตา คจฺฉนฺติ.

9. กสฺสกา ปจนฺติ.

10. มนุสฺโส ฉินฺทติ.

11. ปุริสา ธาวนฺติ.

12. สหายโก ภุญฺชติ.

13. ตถาคโต ภาสติ.

14. นโร ปจติ.

15. สหายา กสนฺติ.

16. สุคโต อาคจฺฉติ.

ข.จงแปลไทยเป็นบาลี

1. อันว่าบุตรทั้งหลาย วิ่งอยู่.

2. อันว่าลุง เห็นอยู่.

3. อันว่าพระพุทธเจ้า มาอยู่.

4. อันว่าเด็กชายทั้งหลาย กินอยู่

5. อันว่าพ่อค้าทั้งหลาย ไปอยู่.

6. อันว่าผู้ชาย หลับอยู่

7. อันว่ากษัตริย์ทั้งหลาย ไปอยู่

8. อันว่าพราหมณ์ ตัดอยู่

9. อันว่าเพื่อนทั้งหลาย พูดอยู่.

10. อันว่าชาวนา ไถอยู่.

11. อันว่าพ่อค้า ไปอยู่.

12. อันว่าบุตรชายทั้งหลาย ตัดอยู่.

13. อันว่าลุงทั้งหลาย พูดอยู่.

14. อันว่าเด็กทั้งหลาย วิ่งอยู่.

15. อันว่าเพื่อนทั้งหลาย พูดอยู่.

16. อันว่าพระพุทธเจ้า เห็นอยู่.

------------------------------------------------------

เฉลยแบบฝึกหัด 1

ก.จงแปลบาลีเป็นไทย

1. ภูปาโล ภุญฺชติ . อันว่ากษัตริย์ เสวย (กิน) อยู่.

2. ปุตฺตา สยนฺติ. อันว่าบุตรทั้งหลาย นอนอยู่.

3. วาณิชา สยนฺติ. อันว่าพ่อค้าทั้งหลาย นอนอยู่.

4. พุทฺโธ ปสฺสติ. อันว่าพระพุทธเจ้า เห็นอยู่.

5. กุมาโร ธาวติ. อันว่าเด็กชาย วิ่งอยู่.

6. มาตุโล กสติ. อันว่าลุง ไถอยู่.

7. พฺราหฺมณา ภาสนฺติ. อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย กล่าวอยู่.

8. มิตฺตา คจฺฉนฺติ. อันว่ามิตรทั้งหลาย ไปอยู่.

9. กสฺสกา ปจนฺติ. อันว่าชาวนาทั้งหลาย หุงอยู่.

10. มนุสฺโส ฉินฺทติ. อันว่ามนุษย์ ตัดอยู่.

11.ปุริสา ธาวนฺติ. อันว่าบุรุษทั้งหลาย วิ่งอยู่.

12.สหายโก ภุญฺชติ. อันว่าสหาย กินอยู่.

13. คถาคโต ภาสติ.อันว่าพระตถาคต กล่าวอยู่.

14. นโร ปจติ. อันว่าคน หุงอยู่.

15. สหายา กสนฺติ. อันว่าสหายทั้งหลาย ไถอยู่.

16. สุคโต อาคจฺฉติ. อันว่าพระสุคต มาอยู่.

ข. จงแปลไทยเป็นบาลี

1. อันว่าบุตรทั้งหลาย วิ่งอยู่. ปุตฺตา ธาวนฺติ.

2. อันว่าลุง เห็นอยู่. มาตุโล ปสฺสติ.

3. อันว่าพระพุทธเจ้า มาอยู่. พุทฺโธ อาคจฺฉติ.

4. อันว่าเด็กชายทั้งหลาย กินอยู่. ทารกา ภุญฺชนฺติ.

5. อันว่าพ่อค้าทั้งหลาย ไปอยู่. วาณิชา คจฺฉนฺติ.

6. อันว่าผู้ชาย นอนอยู่. ปุริโส สยติ.

7. อันว่ากษัตริย์ทั้งหลาย ไปอยู่. ภูมิปาลา คจฺฉนฺติ.

8. อันว่าพราหมณ์ ตัดอยู่. พฺราหฺมโณ ฉินฺทติ.

9. อันว่าเพื่อนทั้งหลาย พูดอยู่. สหายา ภาสนฺติ.

10. อันว่าชาวนา ไถอยู่. กสฺสโก กสติ.

11. อันว่าพ่อค้า ไปอยู่. วาณิโช คจฺฉติ.

12. อันว่าบุตรชายทั้งหลาย ตัดอยู่. ปุตฺตา ฉินฺทนฺติ.

13. อันว่าลุงทั้งหลาย พูดอยู่. มาตุลา ภาสนฺติ.

14. อันว่าเด็กทั้งหลาย วิ่งอยู่. ทารกา ธาวนฺติ.

15. อันว่าเพื่อนทั้งหลาย พูดอยู่. สหายา ภาสนฺติ.

16. อันว่าพระพุทธเจ้า เห็นอยู่. พุทฺโธ ปสฺสติ.

---------------------------------------------------------

 


You will get a PDF (2MB) file