Your Cart

พจนานุกรมฯ-อุดมการณ์ทางการเมืองและการคมนาคม, อังกฤษ-ไทย Ideology and Communication

On Sale
$5.00
$5.00
Added to cart
พจนานุกรมฯ-อุดมการณ์ทางการเมืองและการคมนาคม Ideology and Communication 

หนังสือในชุด พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำหรับเล่มนี้ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายกระบวนการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมวดศัพท์อุดมการ์ทางการเมืองและการคมนาคม Political Ideologies and Communication
ในการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผู้เขียนได้ใช้แนวทางปฏิบัติตาม พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อให้สอดคล้องและเกิดความเข้าใจอันดีในแนวทางเดียวกันของครูอาจารย์และนักศึกษาตลอดจนประชาชนทั่วไปที่นำพจนานุกรมเล่มนี้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเรื่องอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกันต่อไป



==================

ตัวอย่าง พจนานุกรมหมวดศัพท์อุดมการ์ทางการเมืองและการคมนาคม Political Ideologies and Communication 

===================

Atlantic Charter: กฎบัตรแอตแลนติก

ปฏิญญาร่วมที่ออกแถลงโดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill)แห่งอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ภายหลังจากที่ได้ประชุมร่วมกันบนเรือลำหนึ่งกลางมหาสมุทรแอตแลนติก กฎบัตรแอตแลนติกนี้ได้ประกาศหลักการต่าง ๆ ที่สองประเทศนี้ใช้นำทางเพื่อแสวงหาสันติภาพที่ยุติธรรมและโลกที่มีเสถียรภาพ ภายหลังจากที่ระบอบการปกครองของนาซีได้ถูกทำลายแล้ว หลักการต่าง ๆ ในกฎบัตรแอตแลนติก ได้แก่ (1) ให้มีเสรีภาพ 4 อย่าง คือ เสรีภาพที่ปลอดจากความกลัว เสรีภาพที่ปลอดจากความต้องการ เสรีภาพในการพูด และเสรีภาพในการนับถือศาสนา (2) ให้มีการใช้หลักการกำหนดแนวทางปกครองด้วยตนเองในการเปลี่ยนแปลงดินแดนทั้งปวง (3) ให้สิทธิแก่ประชาชนชาติต่าง ๆ ที่จะเลือกรูปแบบการปกครองของรัฐบาลที่พวกตนจะเข้าไปอยู่อาศัยด้วยนั้น (4) ให้มีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการค้า และการหาวัตถุดิบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อความไพบูลย์ และให้มีการร่วมมือร่วมแรงกันทางเศรษฐกิจในหมู่ชาติทั้งปวง (5) ให้มีสันติภาพพร้อมกับมีความมั่นคงสำหรับรัฐทั้งปวง (6) ให้มีเสรีภาพทางทะเล และ (7) ไม่ให้การสนับสนุนการใช้กำลัง ให้มีการสถาปนาระบบความมั่นคงร่วมกันเป็นการถาวร และให้มีการลดกำลังรบของทุกชาติที่คุกคามสันติภาพ

ความสำคัญ กฎบัตรแอตแลนติกนี้ มีลักษณะเหมือนกับโครงการ "โฟร์ทีนพ้อยท์" ที่ประกาศโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คือใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อสำคัญอย่างหนึ่ง ที่มีเป้าหมายให้ไปกระตุ้นมวลชนให้หันมาสนับสนุนแนวทางของฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 กฎบัตรแอตแลนติกนี้มีจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะคือเพื่อจะสยบความรู้สึกของคนในสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ยึดนโยบายแยกอยู่โดดเดี่ยวต่อไป เพราะว่าได้มีการประกาศกฎบัตรนี้ 4 เดือนก่อนที่ญี่ปุ่นจะโจมตีเพิลฮาร์เบอร์แล้วสหรัฐฯก็ได้เข้าร่วมในสงคราม หลักการต่าง ๆ ของกฎบัตรนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ที่เกี่ยวกับเสรีภาพ 4 อย่างนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางให้เป็นเป้าหมายของสงคราม แต่หลักการเหล่านี้ได้กลับกลายเป็นสิ่งมีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงหลังสงคราม หลักการของกฎบัตรแอตแลนติกหลายข้อได้มีการนำไปปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น หลักการปกครองตนเองได้ช่วยสร้างความชอบธรรมให้แก่ความใฝ่ฝันของคนที่ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของเจ้าอาณานิคมในอาณานิคมต่าง ๆ หลายล้านคนที่ต้องการได้เอกราชและมีรัฐเป็นของของตน ส่วนหลักการ"ระบบความมั่นคงร่วมกันที่ถาวร" นี้ก็ได้ก่อรูปเป็นองค์การสหประชาชาติ และหลักการการร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจก็ได้มีการส่งเสริมเป็นการใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อน กฎบัตรแอตแลนติกนี้ได้รับการกระตุ้นจากพวกที่ยึดแนวทางอุดมคติในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
You will get a PDF (504KB) file